รู้จักกับ หญ้าเนเปียร์ ข้อดี ข้อเสีย คืออะไร

 

หญ้าเนเปียร์


หญ้าเนเปียร์ (Napier Grass) จัดเป็นหญ้าอาหารสัตว์ที่นิยมปลูกมาก เนื่องจาก ลำต้น และใบมีขนาดใหญ่ และมีคุณค่างทางอาหารสัตว์สูง รวมถึงสามารถเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตต่อไร่สูง สามารถเก็บเกี่ยวต้นได้ตลอดทั้งปี และเก็บเกี่ยวได้นาน 5-7 ปี ต่อการปลูก 1 ครั้ง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ราก และลำต้น หญ้าเนเปียร์เป็นหญ้าที่มีลำต้นขนาดใหญ่ ลำต้นแตกเป็นกอ หรือแตกต้นใหม่ได้ ลำต้นมีลักษณะแข็งแรง มีลำต้นสั้น ๆ บางส่วนอยู่ใต้ดิน ลำต้นเหนือดิน มีลักษณะทรงกลม และตั้งตรง ขนาดลำต้น 2-2.5 เซนติเมตร สูง 2-6 เมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อปล้อง ประมาณ 15-20 ข้อ ส่วนรากมีเฉพาะระบบรากฝอยที่แตกออกจากเหง้าจำนวนมาก
  • ใบ ใบหญ้าเนเปียร์ออกเป็นใบเดี่ยว ประกอบด้วยกาบใบที่ห่อหุ้มลำต้น และมีขนเล็ก ๆ นุ่มมือปกคลุม โดยตรงรอยต่อระหว่างกาบใบกับแผ่นใบ มีลิ้นใบ ถัดมาเป็นแผ่นใบยาว แผ่นใบมีสีเขียวอ่อน ยาวประมาณ 70-100 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร แผ่นใบมีเส้นกลางใบขนาดใหญ่
  • ดอก ดอกหญ้าเนเปียร์ออกเป็นช่อ แบบ Spike ช่อดอกมีรูปทรงกระบอก สีเหลือง ยาวประมาณ 15-22 เซนติเมตร หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ด้านในดอกมีเกสรตัวเมีย และตัวผู้
  • ผล และเมล็ด หญ้าเนเปียร์พบติดผลได้น้อยมาก เปลือกผล และเมล็ดหุ้มติดกัน

ชนิดและพันธุ์หญ้าเนเปียร์ มีอะไรบ้าง?

หญ้าเนเปียร์
  • หญ้าเนเปียร์ยักษ์
ชื่อสามัญ : King grass
ชื่อวิทยาศาสตร์ : P. purpureum King grass
ลักษณะเด่นชัด : ลำต้นสูง แตกกอง่าย ใบและลำต้นมีขน ให้ผลผลิตต่อไร่สูง 10-60 ตัน/ไร่/ปี หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และน้ำ
  • หญ้าเนเปียร์แคระ
ชื่อสามัญ : Mott Dwarf Elephant Grass
ชื่อวิทยาศาสตร์ : P. purpureum cv. Mott
ลักษณะเด่นชัด : ลำต้นเตี้ย แตกกอง่าย เป็นพุ่ม ใบ และลำต้นมีขน
  • หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 (พันธุ์ลูกผสม)
ชื่อสามัญ : Pak Chong 1
ชื่อวิทยาศาสตร์ : P. purpureum x pennisetum americanum
พันธุ์ดั้งเดิม : หญ้าเนเปียร์ยักษ์ และหญ้าไข่มุก
หน่วยงานพัฒนาสายพันธุ์ : ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ โคราช กรมปศุสัตว์
ลักษณะเด่นชัด : ลำต้นสูงใหญ่ เหมือนเนเปียร์ยักษ์ ลำต้นอวบ และออกเขียวอ่อน ใบ และลำต้นไม่มีขน ลดการคันขณะเก็บเกี่ยว ให้ผลผลิตเหมือนกับหญ้าเนปียร์ยัก ผลผลิตต่อไร่สูง 10-60 ตัน/ไร่/ปี หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และน้ำ

ประโยชน์ของหญ้าเนเปียร์

1. ใช้ปลูกเพื่อเป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะโคเนื้อ โคนม และกระบือ ซึ่งเหมาะสมสำหรับการให้กินสด และการทำหญ้าหมัก
2. ใช้เป็นชีวะมวล สำหรับเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า
3. ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดิน
4. ลำต้นใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษ
5. ลำต้นนำมาสับ และอัดเป็นแท่ง สำหรับเป็นเชื้อเพลิงหุงทำอาหาร
6. หญ้าเนเปียร์มีโปรตีนสูง และให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าหญ้าทุกสายพันธุ์ เหมาะสำหรับใช้เป็นอาหารสำหรับวัวขุน โคขุน และวัวชนทุกระยะ

คุณค่าทางโภชนาการหญ้าเนเปียร์  คุณค่าทางโภชนาการหญ้าเนเปียร์ อายุ 45 วัน : 100 กรัม ดังนี้

พลังงาน : 175.40 แคลอรี่
โปรตีน : 7.32 กรัม
ไขมัน : 0.99 กรัม
คาร์โบไฮเดรต : 34.32 กรัม
ความชื้น : 8.68 กรัม
เถ้า : 11.51 กรัม
กาก : 37.21 กรัม
แคลเซียม : 247.5 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส : 203.9 มิลลิกรัม
เหล็ก : 12.4 มิลลิกรัม
** ปริมาณโปรตีนที่พบ นั่นหมายถึงว่า มีโปรตีนสูงถึง 7.32%

คุณสมบัติที่ดีของหญ้าเนเปียร์

  • ลำต้น และใบมีขนาดใหญ่ ลำต้นเติบโตได้เร็ว และให้ผลผลิตต่อไร่สูงมาก
  • มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เหมาะสำหรับเป็นอาหารหยาบเลี้ยงสัตว์
  • ลำต้นแตกกอใหม่ได้เร็ว ให้ผลผลิตได้ทั้งปี และเก็บผลผลิตได้ยาวถึง 5-7 ปี
  • ลำต้น และใบ มีปริมาณแป้ง และน้ำตาลสูง หากนำไปหมัก อาจไม่ต้องเติมกากน้ำตาล
  • ลำต้น และใบ แก่ช้า
  • ลำต้น และใบมีความอ่อนนุ่ม สัตว์เคี้ยวได้ง่าย
  • ไม่พบโรค และแมลงทำลาย
  • ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้เล็กน้อย
  • ทนต่อสภาพน้ำขังได้บ้าง
  • เติบโตได้ดีในทุกสภาพดี
  • ทนต่อดินเปรี้ยวได้ดี
  • ทนต่อดินเค็มได้ดี
  • เหมาะสำหรับการให้สัตว์กินสด และการทำหญ้าหมัก
ผลผลิต หญ้าเนเปียร์  เป็นอย่างไร?
  • หญ้าเนเปียร์ต้นสด
เป็นการเก็บหญ้าเนเปียร์แบบต้นสด และไม่มีการสับหรือบด โดยตัดเป็นต้น และนำไปให้สัตว์กินโดยตรง ทั้งนี้ นิยมตัดต้นอ่อนในระยะเติบโตที่ยังไม่มีข้อมาก
  • หญ้าเนเปียร์บดสด
เป็นการเก็บหญ้าเนเปียร์แบบนำมาบดสด ทั้งการบดในแปลงด้วยเครื่องจักร หรือ ตัดมือ แล้วขนมาบดด้วยเครื่องจักร ทำให้ได้หญ้าเนเปียร์แบบบดเป็นชิ้นเล็กๆ สัตว์เลี้ยงสามารถกินได้ง่าย และลดการสูญเสียได้เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับแบบให้ทั้งต้นสด ปัจจุบันมีการปลูกในลักษณะฟาร์มขนาดใหญ่เพื่อจำหน่ายมากขึ้น
  • หญ้าเนเปียร์หมัก
เป็นผลผลิตหญ้าเนเปียร์ที่ได้จากการนำหญ้าเนเปียร์บดสดมาหมัก โดยมีส่วนผสมหลายแบบตามที่ต้องการ เช่น หมักกับยูเรีย หมักกับกากน้ำตาล หรือ ควบคู่ทั้งสองอย่าง เป็นต้น ทำให้หญ้าเนเปียร์มีความหยาบน้อยลง สัตว์เลี้ยงสามารถเคี้ยว และได้ย่อยง่าย รวมถึงนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับหญ้าสดที่ไม่ได้หมัก
  • หญ้าเนเปียร์บดแห้ง
เป็นผลผลิตหญ้าเนเปียร์ที่ได้จากการนำหญ้าเนเปียร์บดสดมาตากแห้ง 2-3 วัน หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ทำให้ได้หญ้าเนเปียร์บดแห้ง สามารถเก็บไว้ได้นานหลายสัปดาห์ และมีกลิ่นหอม แต่หากต้องการเก็บไว้นานมากขึ้นในหลายเดือน ต้องผ่านกระบวนการตากที่ความชื้นไม่ควรเกินกว่า 15-20% แต่ทั้งนี้ การให้หญ้าเนเปียร์บดแห้งจะทำให้สัตว์ต้องการน้ำเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการให้แบบบดสดหรือแบบหมัก ดังนั้น ต้องมั้นให้น้ำทุกๆ 3-6 ชั่วโมง ในช่วงการกินอาหาร ปัจจุบันมีการปลูกในลักษณะฟาร์มขนาดใหญ่เพื่อจำหน่ายมากขึ้น ซึ่งเกิดจากฟาร์ที่ขายแบบบดสด

โปรโมชั่นวันนี้ สแลนกันแดด ม้วนละ 645 บาท เท่านั้น มีทั้งสีดำ และ สีเขียว สแลนกันแดดของเรา เหนียว ทนทาน ไม่ขาดง่าย ใช้งานได้นาน มีให้เลือกหลากหลายไซต์ตอบโจทย์การใช้งานทั้ง เกษตร ไซต์งาน โรงจอดรถ 
Thai Food Ideas

เครืองซีลสูญญากาศ อันดับ 1 - ถูกที่สุดในไทย รับประกัน 1 ปี ผลิตและจัดจำหน่าย เครื่องซีลสูญญากาศ ถุงซีลสูญญากาศ อุปกรณ์เบเกอรี่ เครื่องสลัดน้ำมัน เครื่องฟรีซดราย เน้นคุณภาพ มีประกัน พร้อมบริการหลังการขายโดยทีมงานมืออาชีพ

Post a Comment (0)
Previous Post Next Post