ใครจะไปรู้ว่าผักเชียงดา สรรพคุณนอกจากลดน้ำตาลในเลือดแล้ว ยังมีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมภูมิต้านทานการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้ ถ้าใครพอหาซื้อผักพื้นบ้านชนิดนี้ได้ อย่าลืมจับมาทำอาหารกันด้วยนะคะ วันนี้ SGE ขอนำเสนอ ความเป็นมาของ ผักเชียงดา และเมนูผักเชียงดา เรียกได้ว่าอร่อยและมีประโยชน์มากๆ หรือจะแปลงร่างเป็นน้ำพริกผักเชียงดาก็ดีงามค่ะ ตามไปดูกันเลย
ผักเชียงดา เป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือ มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น ผักเจียงดา ผักเซ่งดา ผักว้นหรือผักวุ้น ผักม้วนไก่ เป็นต้น แต่ชื่อที่รู้จักกันแพร่หลายคือ ผักเชียงดา สำหรับต้นผักเชียงดามีลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย ตามลำตันที่โผล่พ้นดินจะมียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวรูปไข่ ใบมีลักษณะเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ภาคเหนือนอกจากเอามาประกอบอาหารแล้วยังเอามาทำชาชงพร้อมดื่ม ส่วนญี่ปุ่นนำไปผลิตเป็นยาชงสมุนไพรแคปซูล เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ส่วนอเมริกานำ ผักเชียงดาไปแปลงรูปเป็น แคปซูล ใช้เป็นยาเสริมสุขภาพ
ถิ่นกำเนิด ผักเชียงดา
จากการศึกษาข้อมูลจากเพจ เทคโนโลยีชาวบ้าน ได้ให้ข้อมูลว่า ผักเชียงดาเป็นพืชที่พบได้ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินเดีย พม่า ศรีลังกา และ ทางภาคเหนือของไทยสำหรับประเทศไทย ผักเชียงดาจะ พบได้ในบริเวณภาคเหนือที่มีอากาศหนาวซึ่งมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ แต่ที่พบมากก็คือ ผักเชียงดาในสายพันธุ์ Gymnema inodorum ซึ่งในภาคเหนือนั้นผักเชียงดา เป็นผักพื้นบ้านที่ชาวเหนือในแถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน เป็นต้น
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
ในการใช้ผักเชียงดาตามตำรายาพื้นบ้าน คือ ใช้รักษาเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ให้รับประทานเป็นผักสดอย่างน้อยวันละประมาณ 50-100 กรัม หรือ 1 ขีด สามารถช่วยป้องกันและบำบัดโรคเบาหวานได้ นำใบมาตำให้ละเอียดใช้พอกบนกระหม่อมรักษาไข้หวัด แก้ไอ ขับเสมหะได้ ใช้ใบแก่ของผักเชียงดามาเคี้ยวกินสามารถรักษาอาการท้องผูกได้ ใบสดใช้ตำพอกฝีหรือพอกบริเวณที่เป็นเริม งูสวัดแก้ปวดแสบ ปวดร้อน ส่วนรูปแบบและขนาดการใช้ทางการแพทย์แผนปัจจุบันระบุว่า การศึกษาในคนพบว่าใช้สารออกฤทธิ์ประมาณ ๔๐๐-๖๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 8-12 กรัมของผงแห้งต่อวันโดยกินครั้ง 4 กรัม วันละ 2-3 ครั้งก่อนอาหารให้ผลในการควบคุมและรักษาโรคเบาหวานได้ดี ส่วนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการนำไปดัดแปลงในรูปแบบ แคปซูล ผงแห้งที่มีการควบคุมมาตรฐานของกรดไกนีมิก (gynemic acid) ต้องมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 หรือ 1 และแคปซูลใหญ่จะต้องมีผงยาของเชียงดาอยู่ 500 มิลลิกรัม
สรรพคุณ และ ประโยชน์ ของผักเชียงดา
ประโยชน์ทางยา นับได้ว่า ผักเชียงดา เป็นสมุนไพรที่มากคุณค่าชนิดหนึ่ง หมอพื้นบ้าน คนพื้นถิ่น ได้ตรวจสอบผลในการบำรุงร่างกาย รักษาโรคภัยต่างๆ ได้ ตำรายาหมอพื้นบ้านแนะนำให้ใช้ตำพอกกระหม่อม รักษาไข้หวัด ไอ ขับเสมหะ บรรเทาภูมิแพ้ หืดหอบ หลอดลมอักเสบ ปวดแสบปวดร้อน อักเสบ บิด ขับปัสสาวะ ช่วยระบบขับถ่าย ขับระดู แก้กามโรค ตำพอกฝี แก้งูสวัด เริม ถอนพิษ ดับพิษร้อน พิษกาฬ ไข้เซื่องซึม โรคชักกระตุก หมอไทยใช้เป็นส่วนผสมเป็นยาครอบจักรวาล หรือยาตำราหลวง หรือยาแก้หลวง
ทางการแพทย์แผนปัจจุบันก็ทราบดีว่า ผักเชียงดา ไม่ว่าจะเป็นส่วนใบ ยอด เถา ต้น หัว ราก ทุกส่วนเป็นยา ต้านอนุมูลอิสระ สาเหตุมะเร็งร้าย มะเร็งกระเพาะ มะเร็งตับ เส้นเลือดหัวใจอุดตัน โรคต้อกระจก ป้องกันเม็ดเลือดแดงแตก รักษาข้ออักเสบ รูมาตอยด์ โรคเกาต์ เบาหวาน ปรับระดับอินซูลิน ช่วยลดน้ำหนัก บำรุงสายตาแก้ตาฝ้าฟางเคืองตา หูดับ ฟื้นฟูตับอ่อน และคงเป็นบทพิสูจน์ทางการแพทย์แผนปัจจุบันแล้วว่า เป็นพืชที่มีตัวยาสำคัญมากมาย ญี่ปุ่น อเมริกา ถึงหาซื้อไปทำผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และยารักษาโรค
เมนู ผักเชียงดาผัดไข่
ก่อนจะจากกันไป ขอนำเสนอเมนู ผักเชียงดาผัดไข่ ที่ทำง่ายมากแถมมีประโยชน์ อีกด้วยนะคะ ที่จริงแล้วผักเชียงดาสามารถเอามาทำผักลวก หรือผักสด แกล้มกับส้มตำ เมนูยำ ลาบ ขนมจีน หรือนำไปแกงผักใส่ปลาแห้ง แกงแค แกงผักรวมมิตร แต่อยากแนะนำ กินผักเชียงดาแบบสดมีคุณค่าทางอาหารมากกว่าทำให้สุก แต่ข้อควรระวังคือ กินผักเชียงดามาก ๆ ระวังจะมีผลทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ เราไปดูส่วนผสมในเมนูนี้กันค่ะ
|
|
วิธีทำผักเชียงดาผัดไข่
2. ใส่ผักเชียงดาลงไปผัดจนสลด ตามด้วยมะเขือเทศผัดจนเข้ากัน
3. แหวกตรงกลางกระทะ ตอกไข่ลงไป ยีไข่พอแตก ผัดทุกอย่างจนเข้ากัน ปรุงรสตามชอบ ตักเสิร์ฟ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะทุกคน เห็นไหมว่าผักเชียงดามีประโยชน์มากๆ จะกินสดก็ได้ หรือจะนำไปผัดเป็นเมนูอาหารก็ได้อีกเช่นกัน เรียกได้ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายมากๆค่ะ ช่วงนี้โควิดกำลังระบาด ต้องหมั่นกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพจะได้ต้านโรคโควิดได้นะคะ สามารถดูบทความอื่นๆได้ที่นี่
ที่มา : Sgethai